คำถามที่พบบ่อย

websthai.com รับทำเว็บไซต์ ทำเว็บบริษัท เขียนโปรแกรมระบบ รองรับ seo

คำถามที่พบบ่อย จากลูกค้าของเรา เรารวบรวมข้อสงสัยต่างๆ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการตอบคำถาม

1. อัพเดทข้อมูลเว็บไซต์ ทำเองได้ไหม?

ทำได้แน่นอน รับทำเว็บไซต์ ทำเว็บบริษัท รองรับ seo ระบบจัดการเว็บไซต์ (Back Office) สามารถอัพเดทข้อมูลเว็บไซต์ได้ด้วยตัวเอง เช่น เพิ่ม, ลบ, หรือแก้ไขเนื้อหาและรูปภาพ ลูกค้าใช้งานง่ายพร้อมคู่มือ โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องเว็บมาก่อน เหมือนใช้โปรแกรม Word ไม่ต้องเขียนโค้ด ช่วยให้คุณลูกค้าสามารถเรียนรู้ และแก้ไขข้อมูลเว็บได้อย่างมืออาชีพด้วยตัวเอง

2. ต้องเตรียมข้อมูลอะไรบ้าง ส่งข้อมูลทางไหน?

คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับ Concept ของเว็บที่ทำ เป็น Theme แบบไหน ทำเกี่ยวกับอะไร รูปแบบเว็บไซต์
ที่ต้องการ เช่น สี หรือตัวอย่างเว็บไซต์ที่ชอบ หน้าแรกต้องการให้มีอะไรบ้าง เช่นคำพูดเกริ่นนำต่างๆ รูปภาพที่โดดเด่น บ่งบอกถึงเอกลักษณ์
ของเว็บไซต์ รวบรวมข้อมูลทั้งข้อความ และรูปภาพ แยกเป็นโฟลเดอร์แต่ละเมนู
ส่งข้อมูลผ่านทาง Email : info@websthai.com หรือ line id : mediadesign

สรุป สิ่งที่ลูกค้าต้องจัดเตรียม ในการจัดทำทำเว็บไซต์ ทำเว็บบริษัท รองรับ seo

  • ชื่อโดเมนที่ต้องการ โดเมน เช่น บริษัทของท่านชื่อ รับทำเว็บในประเทศไทย สามารถตั้งชื่อโดเมนเป็น websthai เป็นต้น
  • หน้าหลัก มีข้อมูลพื้นฐานทั่วไป โปรไฟล์บริษัท ชื่อบริษัท หน่วยงาน ที่อยู่ของบริษัท (LOGO) ของบริษัท ภาพสไลด์จุดขาย โชว์บริษัทหรือสินค้า และคำพูดประกอบถาพสไลด์ เพื่อให้ความรู้สึกโดดเด่น
  • เกี่ยวกับบริษัท เช่น ข้อมูลเชิงกลยุทธ์ธุรกิจ วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ ข้อความจาก กรรมการ ผู้บริหารระดับสูง รายชื่อคณะกรรมการ ระบุตำแหน่งภาพถ่าย Certificate ต่าง ๆ หรืออาจจะมีข้อมูลกิจกรรมเพื่อสังคมขององค์กร
  • รายการสินค้า ข้อมูลสินค้าสำหรับขายสินค้า ภาพถ่ายสินค้า หมวดหมู่ ข้อมูลสินค้าทั่วไป ได้แก่ รหัสสินค้า, ชื่อสินค้า, คำจำกัดความ, คุณสมบัติเฉพาะ, ราคา
  • ข้อมูลบริการ ภาพถ่ายงานบริการ ข้อมูลบริการสินค้า ได้แก่ รหัสบริการ, ชื่อบริการ, คำอธิบายสั้นๆ , คุณสมบัติเฉพาะ, ราคา
  • หน้าติดต่อบริษัท ข้อมูลการติดต่อกลับบริษัทข้อมูลในการติดต่อ ได้แก่ ชื่อผู้ติดต่อ, ตำแหน่ง, เบอร์โทรศัพท์, อีเมล์, ภาพถ่าย , map
    ภาพแผนที่การเดินทาง
  • หน้าข่าวสาร กิจกรรมต่างๆ ข่าวสาร หรืออื่นๆ
  • นโยบาย นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • นโยบายดูแลลูกค้า นโยบายดูแลลูกค้าและบริการหลังการขาย
  • กรณีเป็นเว็บไซต์ 2 ภาษา ให้ลูกค้าแปลภาษา พร้อมส่งข้อมูลทั้ง 2 ภาษา เพื่อให้ทาง websthai.com ได้ลงข้อมูลบนเว็บไซต์พร้อมกัน

3. เพิ่มเมนู บทความ ข่าวสาร ได้หรือไม่?

สามารถทำได้ เรามีไฟล์สอน คู่มือการใช้งาน การเพิ่มเติม – แก้ไข บทความ , ข่าวสาร , การเพิ่ม – ลบ ภาพ ให้กับทุกเว็บไซต์ เมื่อส่งมอบงานแล้ว
แต่เราแนะนำว่าแอดมินผู้ดูแลเว็บไซต์ ควรมีความระมัดระวังในการใช้งาน ในส่วนการของการเพิ่มเติม แก้ไข โดยเฉพาะการแก้ไขเมนู เพราะอาจจะมีผลกระทบต่อหน้าเว็บไซต์อย่างมาก
เราจึงขอแนะนำให้ ติดต่อที่นี่ ให้ทางทีมงานของเราที่มีความชำนาญ เป็นผู้จัดการข้อมูลส่วนนี้จะเป็นการดีกว่า ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

4. ใช้เวลาทำเว็บไซต์กี่วัน?

หลังจากชำระมัดจำ เป็นจำนวนเงิน 50% ของค่างานแล้ว จะใช้เวลาออกแบบ 3-7 วันขึ้นอยู่กับแพ็กเกจและปริมาณข้อมูลเว็บไซต์ และส่งแบบหน้าแรกให้ลูกค้าตรวจ ลูกค้าสามารถแจ้งปรับแก้แบบได้ โดยจำนวนครั้งที่ปรับแก้แบบได้ขึ้นอยู่กับ แพคเกจที่เลือก หลังจากปรับแก้แบบและลูกค้า Confirm แบบแล้วจะใช้เวลาเขียนเว็บอีก 21 วัน (ในกรณีที่ลูกค้าส่งข้อมูลให้ครบทุกหน้าที่ต้องการแล้ว) เว็บก็แล้วเสร็จ โดยรวมจะไม่เกิน 30-45 วัน ( ขึ้นอยู่กับความครบถ้วนของข้อมูลที่ลูกค้าส่งให้) หากลูกค้าแจ้งแก้แบบเร็ว เว็บก็จะเสร็จเร็วขึ้น

5. การแก้ไขแบบคืออะไร?

การแก้ไขแบบ เป็นการแก้ไขในขั้นตอน การออกแบบเว็บไซต์ ซึ่งขั้นต้นต้องมีการขอข้อมูลจากลูกค้าก่อนว่าต้องการเว็บไซต์แบบใด หรือเป็นเว็บไซต์ธุรกิจประเภทไหน มีสี ธีม หรือระบบใดบ้าง หรือเว็บไซต์ตัวอย่าง ที่ต้องการ เพื่อนำมาประกอบ ในการดีไซน์เว็บไซต์ ให้ตรงตามความของลูกค้ามากที่สุด จำนวนครั้งของการแก้ไขแบบอยู่ในรายละเอียดของแต่ละแพคเกจ
หากลูกค้าต้องการแก้ไขแบบ หลังจากมีการ Confirm สรุปแบบและสร้างเว็บไซต์แล้ว มีค่าใช้จ่ายในการแก้ไข

6. ปีต่อไปต้องจ่ายอะไรเท่าไหร่?

ปีต่อไปชำระเฉพาะค่าต่ออายุโดเมนและโฮสติ้ง โดยชำระเป็นรายปี ราคาจะแตกต่างกันตามจำนวนโดเมนและพื้นที่โฮสติ้งของลูกค้าแต่ละคน เช่น หากมีโดเมนหลายชื่อ และพื้นที่โฮสติ้งเพิ่มขึ้นก็มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยพื้นที่โฮสติ้งจะแตกต่างกันสามารถเลือกได้ตามความต้องการของเว็บไซต์

7. พื้นที่โฮสติ้ง และโดเมน คืออะไร?

โฮสติ้งคือพื้นที่บนโลกอินเทอร์เน็ตที่เว็บไซต์เราไปเช่าพื้นที่ เปรียบเสมือนการเช่าบ้านที่มีพื้นที่เพื่อทำร้านค้าหรือธุรกิจ บนโลกออนไลน์ ยิ่งมีพื้นที่มากก็ยิ่งทำให้ใส่ข้อมูลได้มากขึ้น มีความลื่นไหลในการแสดงข้อมูลมาก เว็บไซต์โหลดเร็ว ไม่ค้าง
พื้นที่โฮสติ้งมีทั้ง แบบธรรมดา Shared Hosting และ แบบส่วนตัว Private Hosting
1. พื้นที่โฮสติ้งแบบธรรมดา Shared Hosting
Shared Hosting คือ การแชร์โฮสติ้งกับเว็บไซต์อื่นๆ ที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเรา เหมาะสำหรับเว็บไซต์ขนาดเล็ก ที่มีข้อมูลไม่มาก เนื่องจากไม่ต้องใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูลมาก เปรียบเสมือนรถหลายคันที่วิ่งบนเส้นเดียวกัน
ข้อดีของเว็บโฮสติ้งแบบธรรมดา คือ ราคาถูก เหมาะกับผู้ที่เริ่มต้นธุรกิจ ที่ไม่ต้องใช้เงินทุนมาก
มีข้อเสียของเว็บโฮสติ้งแบบธรรมดา คือ อาจมีการโหลดข้อมูลช้า เนื่องจากมีการแชร์พื้นที่กับหลายๆเว็บไซต์ และหากเว็บไซต์ที่แชร์โฮสติ้งกับเรา เว็บใดเว็บหนึ่งล่ม โดนไวรัส หรือสแปม ก็อาจทำให้เว็บไซต์ของเราล่มไปด้วย จึงควรมีการแบคอัพข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันข้อมูลเสียหาย

การแบคอัพข้อมูลเว็บไซต์ขอแนะนำให้ ติดต่อที่นี่ ให้ทางทีมงานของเราที่มีความชำนาญ เป็นผู้จัดการข้อมูลส่วนนี้จะเป็นการดีกว่า ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

2. พื้นที่โฮสติ้งแบบส่วนตัว Private Hosting
Private Hosting คือ การมีโฮสติ้งที่เป็นส่วนตัว ไม่แชร์พื้นที่พื้นที่กับเว็บไซต์ใดๆ มีเว็บไซต์ของเราเจ้าเดียวในโฮสติ้งนั้นๆ เปรียบเสมือนเป็นถนนที่มีรถของเราคันเดียวที่วิ่งบนเส้นนี้
ข้อดีของเว็บโฮสติ้งแบบส่วนตัว คือ สามารถเก็บข้อมูลได้มาก เพราะมีพื้นที่มาก เว็บไซต์มีการทำงานที่ลื่นไหล เว็บไม่หมุน ไม่ค้าง แสดงผลได้อย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีข้อมูลจำนวนมาก และมีระบบในการใช้งานที่ต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บพอสมควร
ข้อเสียของเว็บโฮสติ้งแบบส่วนตัว คือ มีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นจากแบบธรรมดา แต่ลูกค้าสามารถกำหนดราคาได้ ว่าต้องการพื้นที่เท่าใด เพราะราคาขึ้นอยู่กับจำนวนพื้นที่โฮสติ้งที่ต้องการ

ต้องการดูราคาโฮสติ้ง ดูที่ ใบเสนอราคาออนไลน์

8. ถ้าเว็บมีปัญหาใครดูแล?

เราดูแลแก้ไขปัญหาเว็บไซต์ให้ลูกค้าฟรี 1 เดือน หลังจากส่งมอบงาน หลังจากนั้น หากลูกค้าใช้บริการ ดูแลเว็บ.com ของเรา ทางทีมงานพร้อมดูแล อัพเดทเว็บไซต์ให้ ตามจำนวนครั้งที่ระบุไว้แต่ละแพ็กเกจ ดูรายละเอียดแพคเกจดูแลเว็บที่นี่ 

9. ทำให้เว็บไซต์ติดกูเกิล (Google) ด้วยไหม?

เราทำการปรับแต่ง SEO (Search Engine Optimization) เบื้องต้น ให้กับทุกเว็บไซต์ที่เราสร้าง
และทำการติดตั้งใบรับรอง SSL (https) เพื่อให้เป็นเว็บไซต์ที่สามารถเข้าใช้ได้อย่างปลอดภัย โดยได้รับการรับรองจาก Google อีกทั้งมีการช่วยให้เว็บไซต์ติดกูเกิล Google เร็วขึ้น โดยการวิเคราะห์ว่าคำค้นหา ( SEO Keywords) นั้นๆมีการแข่งขันกันมากน้อยแค่ไหน
ระยะเวลาที่ใช้ในการทำ SEO ให้เห็นผลในเชิงธุรกิจจะอยู่ในช่วง 4 – 8 เดือน หากมีการปรับปรุงข้อมูล อัพเดทเว็บไซต์อย่างสม่ำเสมอ

10. รายงานสถิติ (Google Analytics) คืออะไร?

Google Analytics คือ เครื่องมือของ Google ที่ช่วยเจ้าของเว็บไซต์ในการเก็บข้อมูลผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ เพื่อที่จะนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ปรับปรุงในส่วนงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำการตลาด การซื้อโฆษณา การปรับเปลี่ยนเว็บไซต์ และการหาสิ่งที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์สนใจ เช่น สินค้า บริการ รวมถึงเนื้อหาต่างบนเว็บไซต์ของเรา กล่าวโดยสรุปก็คือ Google Analytics เป็นเครื่องมือช่วยในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลที่จะทำให้เราทราบถึงปัญหาหรือโอกาสที่มีอยู่ และสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ เพื่อจะทำให้ธุรกิจเติบโตและมียอดขายเพิ่มขึ้นนั่นเอง 

11. เว็บไซต์แสดงผล มือถือ-แท็บเล็ต ได้หรือไม่?

เราให้ความสำคัญกับทุกเว็บไซต์ที่เราทำ จะแสดงผลแบบยืดหยุ่น (Responsive) คือ สามารถปรับขนาดหน้าจอแสดงผลเว็บไซต์ให้พอดีกับหน้าจอของอุกรณ์ที่ใช้งาน สามารถรองรับการใช้งานได้กับทุกอุปกรณ์ ทุกขนาดหน้าจอ เพิ่มความได้เปรียบ โดยสามารถเข้าเว็บไซต์ของคุณได้จากทุกที่ ไม่ว่าจะเป็น iPhone, iPad, Android, Tablet หรือ Smart phone รุ่นอื่นๆ

12. ภาษาของเว็บไซต์สำคัญอย่างไร ทำไมต้องทำเว็บไซต์หลายภาษา?

เพราะลูกค้าในโลกอินเทอร์เน็ต ไม่ได้มีเฉพาะคนไทย ดังนั้นธุรกิจหลายๆอย่างจึงต้องมีภาษาที่เป็นภาษาสากลของโลก อย่างน้อยหน้าเว็บไซต์ควรมี
2 ภาษาเป็นอย่างต่ำ คือภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และสำหรับบางธุรกิจควรมีภาษาที่ 3 เพื่อต่อยอดธุรกิจได้ เช่น ภาษาจีน , ญี่ปุ่น , เกาหลี , เยอรมัน , รัสเซีย หรือฝรั่งเศส ตามแต่ความจำเป็นที่จะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าของบริษัทนั้นๆ

เพื่อที่ว่าเมื่อกลุ่มลูกค้าที่เป็นเป้าหมายเข้ามาชมเว็บไซต์ของเรา จะสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่ถูกต้อง ครบถ้วน ตามที่ลูกค้าต้องการ เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือสำหรับธุรกิจ และความมั่นใจให้กับลูกค้า เพื่อก้าวไปสู่การเป็นลูกค้าในอนาคตได้

ในส่วนของบทความภาษา ทางลูกค้าต้องเป็นผู้จัดเตรียมข้อมูลให้กับ websthai.com โดยส่งไฟล์ข้อมูลทางออนไลน์ช่องทาง email : info@websthai.com โดยแยกเป็นหัวข้อที่ต้องการ เพื่อความชัดเจนในการลงข้อมูล

หากมีการเพิ่มเติมแก้ไขในส่วนของภาษา หลังจากส่งงานเสร็จแล้ว เกิน 1 เดือน ติดต่อที่นี่ เพื่อทำใบเสนอราคาออนไลน์

13. ระบบร้านค้าออนไลน์คืออะไร?

ระบบร้านค้าออนไลน์ คือ ระบบที่ลุกค้าของเว็บไซต์นั้นๆ สามารถซื้อสินค้าผ่านหน้าเว็บไซต์ได้ มีการเลือกสินค้า มีระบบตะกร้าสินค้า มีการคำนวนค่าสินค้า มีการส่งข้อมูลเพื่อให้แอดมินดูแลออเดอร์สินค้าผ่านระบบหลังบ้านได้เลย

14. อยากเพิ่มฟังก์ชั่น ระบบต่างๆคิดราคายังไง?

ฟังก์ชั่นหรือระบบต่างๆ ที่นอกเหนือจากระบบเว็บไซต์ทั่วไป เช่น ระบบ จอง Booking , เช่า , Property , คิดค่างวด , คิดเงินดาวน์ , ผ่อนชำระ , ระบบบริหารจัดการ , ระบบสต็อกสินค้า , ระบบชำระค่าสินค้าออนไลน์, ระบบหักเงินบัตรเครดิตออนไลน์ หรือ จ่ายเงินผ่านระบบคิวอาร์โค้ด ( QR Code) , เว็บไซต์หลายภาษา และอื่นๆ จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช็คราคาได้ที่นี่